วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

เลือกอาหาร…เลี่ยงสารพิษอย่างไรดี ?

เลือกอาหาร…เลี่ยงสารพิษอย่างไรดี ?



 ต้องยอมรับว่าดารกินอยู่เดี๋ยวนี้แสนลำบาก  จะกินไอศกรีมสักแท่งก็ต้องพะวงว่าจะมีแบททีเรียจากอุจจาระปนอยู่ไหม  หรือจะกินมันฝรั่งทอดสักชิ้นก็ต้องดูว่ามีปริมาณสารก่อมะเร็งอะคริลาไมค์มากน้อยเพียงใดพอที่จะก่อให้เกิดก้อนเนื้อที่ไม่ได้เชื้อเชิญมาหรือเปล่า  เฮ้อ  เกิดเป็นมนุษย์นี้น่าเหนื่อยจริงนะครับ  แถมพอจะตายก็ไม่ได้ “จากไปดีมีสุข”  ชักระตุกที่เดียวตาย  แต่ต้องมาตายอย่างเป็นทุกขเวทนาน่าสงสารเป็นยิ่งนักแต่อย่างไรก้ดี  ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ก้ต้องสู้กับอนุมูลอิสระเหล่านี้ต่อไป  เพียงแต่เรารู้จักเลือกสักหน่อยจะได้ไม่เป็นการทำลายสุขภาพตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ครับ  จะขอให้หลักในการ “กินเพื่อสุขภาพ”  เอาไว้ดังนี้
  1. เลือกผักผลไม้ตามฤดุกาล  เพราะนอกจากจะไม่มีการเก็บไว้นานมากแล้ว  โอกาศที่จะต้องใช้ยาฆ่าแมลงก้ยังน้อยไม่เหมือนกับของนอกฤดู  และยังเป็นการสนับสนุนพี่น้องเกษตรไทยให้ขายผลผลิตด้วย
  2. อย่าซื้ออาหารหรือผักผลไม้ที่ลดราคาหลังห้างปิด  เพราะอาหารเหล่านี้ได้ผ่านการปรุงหรือล้างมาตั้งแต่เช้า  โดยกว่าจะถึงมือคุณก็ผ่านมือและตากแดดตากลมมาจนโชกโซน ถ้ารับประทานดูจะรู้ได้ทันทีว่าไม่สดแต่ราคาที่ลดยั่วใจทำให้บางท่านลงซื้อไปแต่ผลลัพธ์ที่ตามอาจได้ไม่คุ้มเสียนัก
  3. ล้างผักผลไม้ทุกครั้งแม้จุถูกบรรจุมาในถุงที่บอกว่าได้ล้างมาเรียบร้อยแล้ว  เช่นสลัดผักใส่ถุงซิปล็อคตามห้าง  เพราะอย่าลืมว่ากว่าจะถึงมือเราบางทีก็เย็นย่ำ  ผักที่ล้างแล้วก็อาจมีปคทีเรียเจริญงอกขึ้นมาได้อีก
  4. เลือกผักผลไม้ที่เป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์หรือแน่ใจว่าสดสะอาด  โดยเทคนิคของผมก็คือซื้อจากแม่ค้าเจ้าประจำเพราะถ้าเป็นลูกค้าเก่าเขาจะบอกตรงๆ  ว่าอันไหนสด  อันไหนค้าง  หรืออีกทีหนึ่งผมก็ไปซื้อที่ร้านดอยคำตรงตลาด  อตก.  ผักผลไม้จากโครงการหลวงนี้สด  กรอบน่ารับประทานมากครับ
  5. ฝึกดูฉลากข้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นนิสัย  ถ้าเป็นฝรั่งนี่เขาจะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบของอาหารมาก  อย่างคุกกี้ดำยี่ห้อหนึ่งเคยหมกเม็ดไม่ใส่คำเตือนว่ามีไขมันทรานส์แฟ้ทซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจอยู่ยังโดนฟ้องจนเสีนศูนย์ไปเลย  แต่ของเรานั้นบางทีก็เอาสะดวกเข้าว่า  มองๆ ดูแล้วยังไม่หนดอายุก้ใช้ได้  ซึ่งบางทีของสิ่งเดียวกันแต่ถ้าเขาใส่การกันบูดเข้าไปกว่าจะหมดอายุมันก้นานโขอยู่นะครับ
  6. ถ้าเป็นของสดขอให้เลือกซื้อในช่วงเวลาเช้า  ถ้าแม้ปัจจุบันการขนส่งจะทันสมัยส่งของได้ทันใจทางเครื่องบินก็ตาม  แต่การที่ของสดอยู่ในอากาศที่ร้อนช่วงบ่ายมักจะเป็นเคหะสถาณที่ดีสำหรับแบครีเรีย  ขนาดว่าการผ่าตัดผุ้ป่วยนั้นยังไม่นิยมทำกันในเวลาบ่ายเลยครับก็ด้วยเหตุพลเดียวกันนี้เอง
  7. ไม่ควรซื้อในวันปลายสัปดาห์  เช่นวันศุกร์หรือเสาร์ด้วยว่าจะเป็นวันที่อาหาร (ที่เคย)  สดจะถูกนำมาโละขายให้หมดเพื่อที่จะได้นำของใหม่มาขายต่อไป  ในต่างประเทศก็เช่นกัน เชฟที่มีประสบการณ์ได้เคยออกโรงเตอนไว้เลยว่า  อย่ากินอาหารทะเลในวันดังที่กล่าวไปเพราะจะได้อาหารที่ไม่สดแต่ถูกปรุงแต่งให้น่าดูน่ารักประทานโดยซอสที่โปะหน้า
  8. เลือกรับประทานอาหารหรือซื้ออาหารในร้านที่มีผู้ซื้อเยอะ  ด้วยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสินค้าเร็ว  โอกาสที่ผู้ซื้อจะได้ของค้างก้น้อยลง
  9. ชิมอาหารก่อนปรับปรุงให้เป็นนิสัย  กรมอนามัยได้เคยออกประกาศเตือนว่าคนไทยเรานั้นเป็นนักบริโภคนิยมในเรื่องของ  น้ำตาลและเกลือมากเกินพิกัดที่กำหนด  โดยเหตุส่วนส่วนหนึ่งมากจากการ “ปรุงก่อนซิม”  จนเป็นนิสัย  ทำให้เป็นโรคไต  โรคความดันโลหิตสูงกันมากตั้งแต่ยังอายุน้อย
  10. อย่ากังวลกับสิ่งที่ผ่านไปหรือกับสิ่งที่ยังไม่เกิดมากเกินไป  บางท่านห่วงสุขภาพมากจนไม่เป็นอันกินอันทำอะไรเลย  อย่างนี้ก็เรียกว่าสุดโต่งเกินไปไม่เหมาะสม  ทำให้ชีวิตมีความเครียดแฟงอยู่ลึกๆ  ขอให้คิดว่าถ้าเลือกดีแล้ว  ทำดีที่สุดในการป้องกันสุขภาพของเราแล้ว  ก็ให้ภูมิใจว่ายังดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลยอีกหลายพันหลายหมื่อนครับ
ท้ายนี้ก็ขอให้อย่าเพิ่ฝทอดอาลัยกับชีวิตเลยครับ  ยังมีสิ่งที่สวยสดงดงามและอาหารสุขภาพดีๆ  ให้ชื่นชมอีกเยอะ  อาหารไทยส่วนใหญ่นั้นเป็นอาหารที่ทำจากผักพื้นบ้าน  ถ้าเป็นไปได้อยากให้ลองใช้ผักที่ปลูกเองหรือผักที่ขึ้นตามธรรมชาติมาปรุงอาหารดูชึ้งนอกจากจะปลอดภัยรับประทานสะดวกใจแล้วยังได้วิตามินไม้แพ้ผักของฝรั่งด้วยครับ  ไม่ว่าจะเป็นตำลึงข้าวรั่ว  หรือผักโขมกินยอดก็ได้  ถ้าอยากรับประทานผักให้ได้หลากหลายมากกว่านี้ก็อาจซื้อได้จากที่โครงการหลวง  โดยเฉพาะผักคะน้าที่สดกรอบ  ราคาไม่แพง  เหมาะที่จะนำมารับประทานวันละ 5 กำมือตามโปรแกรมต้านความชนา  และยังมีสารต้านมะเร็งที่เรียกว่าอินโดลทรีคาร์บินอล (I-3-C)  ที่ช่วยยังยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เนื้อร้ายด้วย  เห็นไหมครับประเทศไทยเรายังเป็นแหล่งอาหารที่ดีอยู่มาก  อย่าเพิ่มถอดใจด้วยเรื่องเล็กน้อยเพียงนี้เสียก่อนเลยครับ  บ้านเรายังมีสิ่งที่น่ากลัวกว่าพิษภัยจากอาหารเยอะ 
ที่มา : นิตยสาร ใกล้หมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น