วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

ทดสอบฟันของคุณถูกกรดกัดเซาะไปแล้วแค่ไหน


ทดสอบฟันของคุณถูกกรดกัดเซาะไปแล้วแค่ไหน



        คุณอาจจะไม่เชื่อว่าอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคอยู่ทุกวันสามารถกลายสภาพเป็นกรด  และบ่อนทำลายฟันของคุณให้ย่อยยับลงไปได้  ทุกเมื่อที่ฟันสัมผัสกับกรด  เคลือบฟันจะถูกกัดเซาะ  ทุกครั้งที่แปรงฟัน  เคลือบฟันจะค่อยๆ บางลงตามเวลาที่ผ่านไป  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการกัดเซาะโดยกรดซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้  แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างสามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้
1. พฤติกรรมการบริโภคโดยทั่วไปของคุณเป็นอย่างไร
                ก. ฉันกินจุบจิบตลอดวัน
                ข. ฉันกินมื้อใหญ่วันละ 3 มื้อ  และมีอาหารว่างบ้างนิดหน่อย
                ค . ฉันกินแก่ 3 มื้อหลัก  และไม่มีของว่างระหว่างมื้อ
2. มื้อเช้าของคุณมีผลไม้รวมอยู่ด้วยหรือเปล่า
                ก. เกือบทุกวันเลย
                ข. บางครั้งบางคราว
                ค. แทบจะไม่
3. ในตอนเช้า  คุณมักจะแปลงฝันช่วงไหน                ก. ทันทีหลังจากกินอาหารเช้าเสร็จ
                ข. ประมาณ 20 นาทีหลังอาหารเช้า
                ค. หลังจากตื่นนอนหรือ 1 ชั่วโมงหลังอาหาร
4. คุณดื่มน้ำอัดลมยังไง
                ก. ฉันดื่มจากแก้วหรือกระป๋อง  และกลั้วอยู่ในปากสักแป๊บก่อนกลืน
                ข. ฉันจิบที่ละนิด
                ค. ฉันดื่มจากหลอด
5. คุณปรุงรสอาหารด้วยน้ำมะนาว  น้ำสมสาบชู  หรือซอส  บ่อยแค่ไหน
                ก. ทุกครั้งที่มีให้ปรุง
                ข. บ่อยๆ
                ค. นานๆ  ครั้ง
วิธีให้คะแนน
                ข้อ ก. ข้อละ 1 คะแนน
                ข้อ ข.  ข้อละ 2 คะแนน
                ข้อ ค. ข้อละ 3 คะแนน
5 -8 คะแนน
                คุณมีความเสี่ยงสูงที่ฟันจะถูกทำลายโดยกรด  ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการกิรการดื่มอย่าง  เช่นกินอาหารว่างให้น้อยลง  ดื่มนมหลังจากรับประทานอาหารมื้อหลักและดื่มน้ำอัดลมจากหลอด
9 – 12 คะแนน
                คุณมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับอันตรายจากกรดในอนาคต  เปลี่ยนของว่ามาเป็นอาหารจำพวกที่เป็นมิตรกับเคลือบฝัน  เช่น  ของที่ทำจากนม  ถั่ว  เลี่ยงอาหารที่เหนียวหนึบหรือมีน้ำตาลสูง  ถ้ายังตัดใจจากน้ำอัดลมไม่ได้ควรดื่มจากหลอดแทนดื่มจากแก้วหรือกระป๋องโดยตรง
13 – 15 คะแนน
                อาหารการกินและการใช้ชิวิตของคุณค่อนข้างเป็นมิตรกับฟัน  แต่ก็ควรเฝ้าระวังอาการเคลือบฟันถูกทำลายโดยการไปพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ  และใช้แปรงสัฟันที่มีขนแปรงนุ่มหรือแข็งปานกลาง
   ที่มา นิตยสาร alternative health

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น